การใช้ประโยชน์จากที่ดิน (Land Use) ถือเป็นบทบาทภารกิจหนึ่งขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ซึ่งระบุไว้ชัดเจนในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อพท. โดยเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ 1 ของการจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (มาตรา 21) หรือแผนยุทธศาสตร์ฯ รายพื้นที่ของ อพท. ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญอย่างมากของการใช้ประโยชน์จากที่ดิน การควบคุมการก่อสร้างให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การวางผังเมืองและ การบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียวในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินกับการพัฒนาการท่องเที่ยว
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า การกำหนดเช่นนี้ เนื่องจากการนำที่ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนำไปพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว ถือเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ชุมชนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ไม่ว่าจะพัฒนาขึ้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งการใช้ที่ดินเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ถนนหนทาง ที่ตั้งเสาส่งไฟฟ้า บ่อเก็บน้ำหรือระบบกำจัดขยะ โดยที่ดินที่ถูกใช้ไปในการท่องเที่ยวนั้น มีบางส่วนที่เจ้าของกิจการหรือหน่วยงานต่างๆ สามารถนำที่ดินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ทันที แต่มีที่ดินอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากต้องการนำมาพัฒนาตามวัตถุประสงค์ใน การพัฒนาการท่องเที่ยว จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์จากที่ดินเสียก่อน เช่น จากพื้นที่ ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่เกษตร หรือจากพื้นที่เกษตรไปเป็นโรงแรมที่พัก เป็นต้น โดยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาโดยละเอียดเพราะมีความเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งรวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับผังเมืองด้วยคำพูดจาก ทดลองเล่น
ทั้งนี้ หลายกรณีจะพบว่า แม้ในพื้นที่ดังกล่าวจะมีอุปสงค์หรือความต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมากเพียงใดก็ตาม หากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้ถูกวัตถุประสงค์เสียก่อนนำไปใช้ประโยชน์ อาจทำให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายตามมา ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจแล้ว ยังทำให้เกิดเป็นคดีความอีกด้วย
ดังนั้น นักพัฒนาการท่องเที่ยวของ อพทคำพูดจาก รวมสล็อตทดลองเล่น. จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว และเป็นผู้ที่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้ง อพท. อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการใช้อำนาจจากแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 21 และการใช้อำนาจในการบูรณาการตามกฎหมายของ อพท. กับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีอำนาจในการถือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น กรมที่ดิน กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมธนารักษ์ เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้การท่องเที่ยวสามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนอย่างเต็มที่ และยังเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าตามหลักการของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน