จากกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีการพิจาณารายงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีผู้ร้องเรียนขอให้พิจารณา และส่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่ กรณีถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น itv
ก่อนที่จะถึงวันโหวตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ท่ามกลางความกังวลว่ากรณีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการโหวตนายกรัฐมนตรี
ส.ว.มีอำนาจ-หน้าที่อะไร! นอกเหนือจากการร่วมโหวตนายกฯ
กกต.ยังไม่มีมติส่งศาลรธน. ปมหุ้นสื่อ "พิธา" นัดประชุมต่อพรุ่งนี้
ล่าสุดนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา บอกว่า องค์กรที่จะวินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อ กกต. รับเรื่องไว้แล้ว ต้องตรวจสอบหลักฐานและรีบส่งศาลรัฐธรรมนูญชี้ให้ชัดโดยเร็วว่าจะถูกหรือผิด จะมีคุณสมบัติ ครบถ้วนไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ เพราะเมื่อเปิดประชุมรัฐสภา วันที่ 13 กรกฎาคม คงจะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง และมีการหยิบยกมาตรา 272 ซึ่งมีการพูดถึงคุณสมบัติของผู้ที่ถูกเสนอชื่อ ไปโยงกับมาตราอื่นๆ นำไปสู่ข้อสงสัยว่าข้อยุติคืออะไร
“หากเลือกไปจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะสมาชิกรัฐสภาต้องเลือกนายกฯ จากผู้มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ หากรู้อยู่แล้วว่า นายพิธา ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามแล้วยังเลือก อาจจะขัดกับรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งก็มีโทษทางอาญาด้วย เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ ต่อหลักการพิจารณาในวันที่ 13 กรกฎาคม”
นายดิเรกฤทธิ์ มองว่าเรื่องนี้ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็ว และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแล้ว จะต้องมีคำสั่งที่เกี่ยวข้องโดยด่วน อาจจะต้องมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อดำรงตำแหน่ง ส.ส.ไม่ได้ จะมีผลย้อนหลังไปจนถึงวันเลือกตั้ง ที่อาจจะเป็นโมฆะทั้งหมด ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ศาลควรสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อน เหมือนกับกรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่า วาระการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องของรัฐสภา หากทั้ง 750 คน มองว่าเลือกไปแล้วจะไม่มีปัญหาตามมาก็สามารถใช้มติของรัฐสภาเลื่อนวาระการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปได้ ซึ่งจะต้องรอวัน ที่ 13 กรกฎาคม และในวันนั้นตัวเองอาจจะยกมือขอหารือในที่ประชุมในประเด็นนี้ด้วย และหากในวันดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำสั่ง ให้นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีการเลื่อนวาระลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ส.ว. หลายคนอาจใช้วิธีงดออกเสียงเพื่อเป็นทางออกในการเลื่อนวาระดังกล่าว และกลับมาโหวตในครั้งต่อไปได้
เช่นเดียวกับ นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ที่ออกมาเปิดเผยว่า รู้สึกเป็นห่วงว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ผลออกมาว่า นายพิธา ขาดคุณสมบัติ การเป็น ส.สคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. แล้วมีคนเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี กลัวว่าผลกระทบจะไม่ได้ส่งผลเสียแค่ นายพิธา หรือ พรรคก้าวไกลเท่านั้น แต่อาจกระทบไปถึง พรรคการเมืองอื่นที่เลือกนายพิธาด้วย เช่น อีก 7 พรรคร่วมรัฐบาล ที่ประกาศตัวสนับสนุนพรรคก้าวไกล นายเสรี มองว่า คนที่ไปร่วมเลือกนายพิธา เสี่ยงที่จะถูกมองว่า ทำการล้มล้างระบบการปกครองหรือไม่ ย้ำว่า หากยังพยายามไปเลือกท้ายที่สุดแล้ว จะทำร้ายตัวคุณเอง
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในวันที่ 13 ก.ค. อาจมีกลุ่มต่างๆนัดหมายชุมนุมกัน นายเสรี บอกว่า ไม่ควรมีการ ยุยงให้ประชาชนลงถนนสร้างความปั่นป่วนเกิดความไม่สงบเรียบร้อย การเป็นนักการเมือง ต้องมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองประชาชน อย่าไปพูดว่าถ้าไม่เลือกแล้ว ประชาชนจะออกมาชุมนุม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้ไม่เหมาะสมที่จะขึ้นมาบริหารประเทศ หรือเป็นผู้นำประเทศ เพราะถือว่าไม่มีความรับผิดชอบ ยุยงส่งเสริมให้คนทำผิดกฎหมาย สร้างความไม่สงบเรียบร้อยก็ไม่ควรทำ