วันนี้ 30 พ.ค. 2566 พีพีทีวี คุยกับ นายศุภศักดิ์ รุ่งเจิดฟ้า ประธานที่ปรึกษาสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย บอกตรงกัน ว่า ส่วยที่แฉกันตอนนี้ มีมาตั้งแต่ช่วงปี 2530 แต่รูปแบบการจ่ายต่างกันไปแล้วแต่ยุคสมัย เช่น ช่วงแรก ยืนจ่ายกันหน้าตู้ตามด่าน ตู้พักยามตำรวจ เรียกเงินกันหลักสิบ ต่อเที่ยว
ต่อมาช่วงปลาย 2530 เริ่มปรับเปลี่ยนเป็นการทำสติกเกอร์ติดรถและเพิ่มเป็นเงินหลักพันบาท และ พัฒนาการจนเป็นแบบในปัจจุบัน คือมีเครือข่ายทั่ว มีนายหน้า โบรกเกอร์แบบจริงจัง
แฉ! รูปแบบจ่าย “ส่วยสติกเกอร์”รถบรรทุก
เผย “ส่วยสติกเกอร์” มีมานาน-เป็นขบวนการใหญ่
นายศุภศักดิ์ มองว่า การทำสติกเกอร์ส่วยจะทำเป็นขบวนการ มีมาเฟียคอยรับเคลียร์ โดยมีเบื้องหลังเป็นผู้มีอิทธิพลที่เป็นผู้รักษากฎหมายหนุนหลังอยู่อีกไม่ต่างกับการพนันออนไลน์คำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่
ที่นี้ถ้าเราย้อนดูว่า ส่วยสติกเกอร์นี้ถูกอ้างว่าเกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2530 ถ้านับจนถึงปัจจุบัน ปี 2530 – 2566รวม 36 ปี ประเทศไทย มีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มา 22 คน
ปัญหาส่วยสติกเกอร์ยังอยู่ต่อเนื่อง ตามข้อมูลของ นายศุภศักดิ์ บอกด้วยว่า เขาเคยร้องเรียนเรื่องนี้ไปหลายครั้ง มีการจับกุมอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่การทลายเครือข่าย
ส่วนสายบังคับบัญชา จาก ส่วนกลางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึง เจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติการ หน้างาน พบว่า กองบังคับการตำรวจทางหลวง ขึ้นตรงกับ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และ ในกองบังคับการตำรวจทางหลวง แบ่งออกเป็น 8 กองกำกับการ กระจายอยู่ทั่วประเทศ